กำเนิดพระซุ้มกอ

           ในยุคสุโขทัยตอนกลาง พระมหาเถรสรีสัทธา ซึ่งเป็นราชนัดดา(หลาน)ของกมรเตงอัญผาเมือง(พ่อขุนผาเมือง) ซึ่งทรงศึกษาศิลปวิทยาจนสำเร็จโสฬส ของคัมภีร์มหาจักพรรดิราช ทรงเชี่ยวชาญในการรบชำนะศึกทุกทิศ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทรงสังเวชในชีวิตมนุษย์ที่สูญเสียไปกับสงคราม จึงทรงสละพระราชสมบัติออกผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จาริกไปยังชมพูทวีปและสิงหลทวีป ในครั้งนี้พระองค์ได้นำเอาพระอภิธรรมปิฏกกลับมาด้วย ในระหว่างเดินทางกลับสู่สุโขทัยก็ได้ผ่านเมืองชากังราว ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีมาแต่ครั้งก่อนพุทธกาล ได้ถูกทิ้งร้างไป วัดวาอารามพุทธรูปชำรุดแตกหัก พระมหาเถรสรีสัทธา จึงทรงบูรณะปฏิสังขรขึ้นใหม่(ปรากฏในจารึกนครชุม..จารึกหลักที่๒) พร้อมกับได้จัดให้มีการบวชข้าราชบริพาร เป็นพระภิกษุจำนวนมากเพื่อจำพรรษา และตั้งให้เป็นสถานศึกษา-ปฏิบัติ พร้อมกับเปลี่ยนนามจาก "ชากังราว" เป็น "นครชุม"

" นครชุม " เป็นภาษาสุโขทัยโบราณ หมายถึงเมืองที่เจริญ มากมายด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ สมณะ โยคี ฤาษี ผู้ถือศีล และพ่อค้าวานิช เมืองนครชุมจัดว่าเป็นเมืองที่เจริญเป็นอันดับสองรองจากสุโขทัย โดยได้ตั้งเป็นเมืองลูกหลวง มีการปกครองระบบเวียงวังคลังนา และสาธารณูปโภคเฉกเช่นสุโขทัย ต่อมาในภายหลังได้เสริมกำแพงเมืองให้แข็งแรงด้วยศิลาแลงอย่างมันคงเพื่อป้องกันข้าศึก จึงได้รับขนานนามว่า "เมืองกำแพงเพชร" นับแต่ยุคอยุธยาตอนต้นสืบมาจวบจนปัจจุบัน

ในการสร้างพระซุ้มกอขึ้นครั้งเริ่มตั้งนครชุมนั้น สมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธา ได้ทรงนำเหล่าฤาษี ครูบาเฒ่า แลขรัวครูทั้งหลาย รวบรวมว่านยา ปถวีธาตุเหล็กไหล ไพลดำ ปรอทสำเร็จสุดพิเศษ จัดทำขึ้นพุทธปฏิมาขึ้นเป็นพระพิมพ์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วยพุทธานุภาพ โดยสร้างเป็นพระพิมพ์นั่งในซุ้มตัวอักษร ก.ไก่ ของอักขระสุโขทัย มีกำไลเครื่องชั้นยศกษัตริย์ประดับอยู่ที่แขนเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหาเถรสรีสัทธา

ซึ่งต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ ได้ผู้ขุดค้นพบพร้อมกับใบลานทองคำที่มีจารึกภาษาไทโบราณแปลได้ความว่า "มีกูไว้ ไม่ยากจน" ในการที่ใช้ ก.ไก่ อันเป็นอักษรตัวแรกของอักขระสุโขทัยนี้เอง ทำให้ขนานนามว่า "พระซุ้มกอ" อันเป็นสุดยอดแห่งพระพิมพ์ หนึ่งในเบญจภาคี ซึ่งมีพุทธคุณด้านอำนวยโชคลาภ ด้านค้าขาย และเมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือทั่วแผ่นดิน


สมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธา ได้ทรงรจนา-ปริวัติ คัมภีร์พระอภิธรรมปิฏก ภาคปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ว่าด้วยการควบคุมธาตุ๑๘ (อัฏฐารสธาตุ) ตรงรจนาคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง และทรงถ่ายทอดคัมภีร์มหาจักพรรดิ์-รัตตัญญุศาสตร์ แก่กมรเตงอัญลิไท(พญาลิไท) ซึ่งเป็นราชนัดดา(หลาน)ของท่าน ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการขนาดก่อตั้งกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งแรกของโลก ที่สามารถพยากรณ์ดิน ฟ้า ลม ฝน ได้เรียกว่าเกณฑ์พิรุณศาสตร์ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยอุดมสมบูรณ์ก้าวหน้ากว่าอานารยะประเทศในยุคนั้น สำหรับพระมหาเถรสรีสัทธานั้นได้รับพระราชทานแต่งตั้งจากกมรเตงอัญลิไท(พญาลิไท) ให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกแห่งกรุงสุโขทัย มีพระนามว่า สมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธาจุฬามุนี รัตนลังกาทีป มหาสามีเป็นเจ้า


ขออนุโมทนา คณะผู้สร้างวิดิทัศน์เพื่อการศึกษานี้ ด้วยพลังแห่งพุทธานุภาพ ขอความผาสุข สวัสดี มีโชคชัย สมปรารถนาในสิ่งอันเป็นกุศล พร้อมด้วยสาธุชนทุกท่านถ้วนทั่วกันเทอญ   

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS